ปัญหาราคาข้าวตกต่ำเป็นหนามทิ่มอกชาวนาไทยมานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การไร้สายพันธุ์ข้าวใหม่ๆทำให้ตลาดข้าวไทยถูกเวียดนามเบียดชิงส่วนแบ่งชนิดหายใจรดต้นคอ ในยุคสุขภาพมาก่อน การผลิตข้าวเปลือกแบบเดิมๆนับวันมีแต่จะตีบตัน ทว่า! มันไม่ง่ายที่จะให้ที่จะเปลี่ยนแปลง
การเกิดขึ้นของข้าวดัชนีน้ำตาลปานกลางค่อนไปทางต่ำสายพันธุ์พิเศษ หรือ ข้าว กข 43 อาจเป็นทางออกที่ชาวนาเฝ้ารอ
ข้าว กข 43 เป็นการผสานพลังร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กรมการข้าว องค์กรชั้นนำเรื่องวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าว พลังเครือข่ายชาวนาไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกข้าว และภาคเอกชน บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด ร่วมกันผลิต ‘ข้าวดัชนีน้ำตาลปานกลางค่อนไปทางต่ำสายพันธุ์พิเศษ ข้าว กข 43’ แบบครบวงจรครั้งแรก เจาะตลาดคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนรักสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มโรงพยาบาล มุ่งหวังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาไทยให้ดียิ่งขึ้น
น ายไ ต รรั ต น์ อุ ด มศรี โ ยธิ น รอ ง ก รรมก ารผู้ จั ด ก าร ง าน พั ฒ น า วั ต ถุ ดิ บ ต้ น น้ำ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จากัด เ ปิ ด เ ผ ย ว่า ‘ข้ า ว ดัชนีน้ำต า ล ป า น ก ล า ง ค่อ น ไ ป ท า ง ต่ำ หรือ ข้ า ว กข 43 เป็นงานพัฒนาข้าวสายพันธุ์พิเศษ กข 43 ของกรมการข้าว ที่พัฒนาคุณภาพข้าวตรงตามกล่มุผู้บู ริโภคเฉพาะทาง และเพิ่มความหลากหลายให้กับสายพันธุ์ข้าวไทย โดยบริษัทฯ มีส่วนช่วยส่งเสริมกระบวนการผลิตให้กับเกษตรกรสมาชิก อ.เดิมบางนางบวช ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูกข้าว และเชื่อมโยงเรื่องการทำตลาดให้กับสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ตลาดแข่งขัน เพราะปัจจุบันมีอัตราประชากรเป็นโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ซึ่งสินค้าข้าว กข 43 นี้คือทางเลือกใหม่ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และหันมาพิถีพิถันในการเลือกบริโภคสินค้าที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทฯ ที่ได้มีส่วนร่วมส่งเสริม สนับสนุน สร้างประสิทธิภาพการผลิตข้าวเพื่อสุขภาพของเกษตรกรสมาชิกในโครงการฯ
โดยได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ทำงานร่วมกันกับเกษตรกรสมาชิกทุกๆขั้นตอนการผลิต บริษัทฯยังเป็นตลาดรองรับวัตถุดิบที่แน่นอน รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรสมาชิกโดยตรงผ่านกระบวนการรับซื้อที่โปร่งใสด้วยเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพข้าวที่แม่นยำได้มาตรฐานสากล พร้อมกับประกันราคารับซื้อข้าวเปลือกขั้นต่ำ 12,000 บาทต่อตัน (ข้าวเปลือกที่ความชื้น 14%) ทำให้เกษตรกรมั่นใจได้ว่าจะไม่ต้องรับความเสี่ยงเรื่องราคาเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพราะมีการตกลงเรื่องราคารับซื้อตั้งแต่ตอนแรกก่อนเริ่มโครงการฯ อีกทั้งยังใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกในการจัดการและตรวจสอบข้อมูล อาทิ ระบบการลงทะเบียนเกษตรกรสมาชิกและระบบTestability ทำให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนการผลิตข้าว ลงลึกถึงทุกแปลงนาของเกษตรกรสมาชิก เพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพมาตรฐานตรวจสอบได้ส่งต่อให้กับผู้บริโภคและมีแผนทำการตลาดอย่างต่อเนื่องให้กับสินค้า สร้างความเป็นสินค้าคุณภาพเพิ่มมูลค่าสูงขึ้นเพื่อสู่ตลาดแข่งขัน
น ายไ ต รรั ต น์กล่าวอีกว่า ข้าวกข43 เกิดจากข้าวสายพันธุ์สุพุรรณบรุี1กับข้าวเจ้าหอมสุพรรณ เป็นข้าวอายุเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 95 วันและทนต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล คุณสมบัติพิเศษเป็นข้าวดัชนีน้ำตาลปานกลางค่อนไปทางต่ำโดยมีค่าการแตกตัวน้ำตาลน้อยและค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ เมื่อรับประทานอาหารร่างกายจะเปลี่ยนแป้ง หรือ คาร์โบไฮเดรตในข้าวไปเป็นน้ำตาลได้ช้าลง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งข้าว กข 43 มีค่าดัชนีน้ำตาลในข้าวขัดขาวที่ 57.5 (เปรียบเทียบ ค่าดัชนีน้ำตาลสูง High GI มากกว่า 70, ค่าดัชนีน้ำตาลระดับกลาง Medium GI 56-69, ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ Low GI น้อยกว่า 55) เมื่อหุงสุกมีลักษณะข้าวนุ่ม กลิ่นหอมอ่อนใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์ดอกมะลิ 105 และ กข 15 เป็นข้าวทางเลือกเพื่อสุขภาพเหมาะสำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก กลุ่มผ้ปู่วยโรคเบาหวานและโรคไต
“บริษัทฯ ได้สนับสนุนเครดิตเมล็ดพันธุ์ข้าวกข 43 จากกรมการข้าวจำนวน 94 ตันมอบให้กับเกษตรกรสมาชิกในโครงการฯกว่า 200ราย ถือเป็นปฐมฤกษ์ครั้งสำคัญ ตั้งเป้าฤดูกาลผลิตข้าวกข43 รุ่นนาปี61 บนพื้นที่ครอบคลุมกว่า 5,000 ไร่ คาดเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตจำนวน 2,900 ตันข้าวเปลือก สีเป็นข้าวสารจำนวน 1,300 ตัน พร้อมส่งมอบข้าวเพื่อสุขภาพทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคในไตรมาส4ปีนี้” น ายไ ต รรั ต น์ กล่าว
ก็หวังเพียงว่าในอนาคตเมื่อข้าว กข43 ได้รับความนิยม ชาวนาจะไม่ตกอยู่ในฐานะตัวสำรองเหมือนที่เคยเป็นมา!!!