‘ชิงเต่า’ ไม่ได้มีดีแค่…เบียร์ แต่ยังเป็นเมืองผลิตรถไฟความเร็วสูงของจีน

1953
‘ชิงเต่า’ ไม่ได้มีดีแค่...เบียร์ แต่ยังเป็นเมืองผลิตรถไฟความเร็วสูงของจีน | Creative Econ เว็บไซต์เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ชิงเต่า ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลซานตง (Shandong Sheng) มีผลิตภัณฑ์ที่ทั่วโลกรู้จักคือเบียร์ชิงเต่า แต่ชิงเต่ามิใช่โดดเด่นเพียงเบียร์และมีสะพานชิงเต่า-ไฮ่วาน ซึ่งเป็นสะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลกเท่านั้น แต่เมืองนี้ยังเป็นแหล่งผลิตรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีน ซึ่งขบวนรถไฟความเร็วสูงในจีนกว่า 60% ผลิตมาจากเมืองนี้ นอกจากการผลิตป้อนภายในประเทศแล้ว ยังผลิตส่งออกไปขายทั่วโลกอีกด้วย
‘ชิงเต่า’ ไม่ได้มีดีแค่...เบียร์ แต่ยังเป็นเมืองผลิตรถไฟความเร็วสูงของจีน | Creative Econ เว็บไซต์เศรษฐกิจสร้างสรรค์เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ได้เชิญสมาชิกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน นำโดย ชัยวัฒน์ วณิชวัฒนะ นายกสมาคมฯ เข้าร่วมศึกษาดูงาน เนื่องในวาระที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครบ 42 ปีในปี พ.ศ.2560 โดยมีสำนักข่าว Xinhua อำนวยความสะดวกด้านที่พักและการเดินทาง หนึ่งในนั้นคือการเยี่ยมชมโรงงานผลิตหัวรถและตู้รถไฟความเร็วสูงของบริษัท CRRC Qingdao Sifang ณ เมืองชิงเต่า ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ CRRC Corporation ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถไฟรายใหญ่ที่สุดในจีนนั่นเอง
โรงงานแห่งนี้ก่อตั้งมานานกว่า 100 ปี ผลิตรถไฟตั้งแต่ความเร็วขั้นต่ำ 60 กิโลเมตรจนปัจจุบันสามารถผลิตรถไฟความเร็วสูง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยนวัตกรรมของบริษัท 100% ปัจจุบันกำลังวิจัยและพัฒนารถไฟความเร็วสูงพลังแม่เหล็ก หรือ แม็กเลิฟ ด้วยความเร็วสูงสุด 400-600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
‘ชิงเต่า’ ไม่ได้มีดีแค่...เบียร์ แต่ยังเป็นเมืองผลิตรถไฟความเร็วสูงของจีน | Creative Econ เว็บไซต์เศรษฐกิจสร้างสรรค์โรงงานแห่งนี้สามารถผลิตตู้รถไฟเปล่าได้ถึงวันละ 8 ตู้ ก่อนจะนำไปประกอบชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆกระทั่งสำเร็จรูปและนำไปวิ่งได้ โดยกระบวนการออกแบบจะใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงหรือโปรแกรม VR ที่สามารถจำลองแบบออกมาราวกับว่ากำลังอยู่ในขบวนรถไฟจริงๆ ให้เห็นรายละเอียดภายในรถทั้งหมด ลูกค้าสามารถรู้ขนาดที่นั่ง ชั้นวางของ วัสดุที่ใช้ทำเบาะ พรมปูพื้น ห้องน้ำ อ่างล้างมือ ฯลฯ และปรับเปลี่ยนเลือกวัตถุดิบได้ตามต้องการก่อนนำไปจัดทำเป็นตู้สำเร็จรูป
งานวิจัยและพัฒนา หรือ R & D ถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจของ CRRC Corporation โดยจะมีการตั้งงบประมาณมากกว่า 1 หมื่นล้านหยวน หรือประมาณ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี สำหรับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม กระทั่งสามารถผลิตตู้รถไฟที่วิ่งในอุณหภูมิ -40 องศา หรือท่ามกลางทะเลทรายได้โดยไม่ทำให้ผู้โดยสารอึดอัด หรือการใช้กระจกเกรดพิเศษสโลว์ภาพนอกหน้าต่างให้สมดุลกับสายตา ไม่เกิดการลายตาแม้รถจะวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด รวมถึงการพัฒนาพลังงานทางเลือกใหม่ๆเช่นพลังงานโซลาร์เซลล์เพื่อนำมาใช้ในรถไฟความเร็วสูง

‘ชิงเต่า’ ไม่ได้มีดีแค่...เบียร์ แต่ยังเป็นเมืองผลิตรถไฟความเร็วสูงของจีน | Creative Econ เว็บไซต์เศรษฐกิจสร้างสรรค์