อาหารไทย 4.0 ผลงานเด็กอาชีวะ

2025

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดประกวดสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา “อาหารไทย 4.0” ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ของคนไทยที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลกและจัดเป็น 1 ใน 5 ของอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve)

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า การจัดการประกวดสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา “อาหารไทย 4.0”  เป็นโครงการสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เยาวชนเกิดแรงบันดาลใจ ในการพัฒนานวัตกรรมด้านอาหาร ให้สามารถใช้งานได้จริง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ส่งเสริมนักศึกษารุ่นใหม่ให้หันมาสนใจศาสตร์นี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น  และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้ใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ เป็นระบบ สร้างความสามัคคี จึงถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องให้การสนับสนุนการประดิษฐ์ คิดค้น และพัฒนาเทคโนโลยี ด้านนวัตกรรมอาหารอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารไทยที่มีอัตลักษณ์เฉพาะและเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารที่จะสร้างรายได้ให้กับคนไทย

ด้าน ดร.สุเทพ  ชิตยวงษ์  เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า การประกวดสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา “อาหารไทย 4.0”  แบ่งเป็น 2 กิจกรรมได้แก่ 1. การจัดการประกวดสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา “อาหารไทย 4.0” ใน 3 ประเภทประกอบด้วย ประเภทนวัตกรรมอาหารแปรรูป(Processed Food Products Innovation) มีผลงานเข้าร่วมการประกวดฯ   จำนวน  50  ผลงาน   ประเภทเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การแปรรูปอาหาร (Equipment for Food Processing Innovation) ) มีผลงานเข้าร่วมการประกวดฯ   จำนวน  36  ผลงาน และประเภทนวัตกรรมอาหารถิ่น EEC (EEC Local Food Innovation) จัดการประกวดเฉพาะสถานศึกษาในพื้นที่ EEC ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และจังหวัดระยอง ส่งทีมเข้าร่วมการประกวดจำนวนทั้งสิ้น  6  ทีม  และ 2. กิจกรรมการดำเนินการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารตลอดจนเปิดโอกาสการจับคู่ธุรกิจ ระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการด้านอาหาร  โดยในภาพรวมผลจากการดำเนินการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารของนักเรียนนักศึกษา มีสถานประกอบการให้ความสนใจจะนำไปพัฒนาต่อยอดและร่วมมือทางธุรกิจจำนวน  21  ราย มูลค่าการซื้อขายภายในงานจำนวน  174,761  บาท

สำหรับการประกวดสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา “อาหารไทย 4.0” ประจำปีการศึกษา 2561  มีผลการประกวดดังนี้

ประเภทนวัตกรรมอาหารแปรรูป(Processed Food Products Innovation)

ประเภทที่ 1 นวัตกรรมอาหารแปรรูป(Processed Food Products Innovation)

ซีอิ้วผงจากถั่วนิ้งนางแดง   วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร ชนะเลิศ

ไข่พะโล้หน่อไม้ใบย่านาง  วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี  รองชนะเลิศอันดับ 1

ซอสลูกหยีสำเร็จรูป  วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี รองชนะเลิศอันดับ 2

โจ๊กข้าวกล้องงอกกึ่งสำเร็จรูปรสแกงเลียง วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รองชนะเลิศอันดับ 3

ประเภทที่ 2 นวัตกรรมเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์การแปรรูปอาหาร (Equipment for Food Processing Innovation)

อุปกรณ์ตัดเปลือกไข่นกกระทา วิทยาลัยเทคนิคระยอง  ชนะเลิศ

เครื่องช่วยทำผลไม้แช่อิ่ม  วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก รองชนะเลิศอันดับ 1

ไข่ทรงเครื่องครบวงจร  วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด  รองชนะเลิศอันดับ 2

เครื่องย่างจับหลักกึ่งอัตโนมัติ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี รองชนะเลิศอันดับ 3

 

ประเภทที่ 3 นวัตกรรมอาหารถิ่น EEC (EEC Local Food Innovation)

สำรับอร่อยนี้ที่ระยอง  วิทยาลัยเทคนิคระยอง  ชนะเลิศ

สำรับอาหารถิ่นยอง “ฮิ”  วิทยาลัยเทคนิคระยอง  รองชนะเลิศอันดับ 1

สำรับคาวหวานน่านน้ำบางประกง วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา รองชนะเลิศอันดับ 2

แดนดิน ถิ่นชล   วิทยาลัยเทคนิคบางแสน  รองชนะเลิศอันดับ 3