3 โรงงานในเครือไทยเบฟเข้ารับประกาศนียบัตร มอก.9999

186

3 โรงงานในเครือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำทีมโดย นายวีระชัย ไชยมงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นางอทิยา รัตนศรีสกุล ผู้จัดการอาวุโสทรัพยากรบุคคล บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จำกัด/ นายกิตติพงศ์ ศรีชุม ผู้จัดการผลิต บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด เข้ารับมอบประกาศนียบัตรมาตรฐานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม มอก.9999 จาก นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) และ นายฐานิต ปิยะศิริศิลป์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุม Sharing ชั้น18 สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อาคารยาคูลท์ เขตพญาไท กรุงเทพกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมา

นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ได้กล่าวถึงภาพรวมของ มาตรฐานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม มอก.9999 ถึงวัตถุประสงค์ว่า

“อย่างที่ได้คุยกันก็คือทางแนวคิด เดิมก็เคยมีแนวคิดทางด้านตะวันตกเกี่ยวกับไอโซมาตรฐานต่างๆอันนี้ทางผู้บริหารท่านเดิมคือ ดร.สันติ กนกธนาพร ท่านก็มองว่าเราควรจะมีแนวคิดทางด้านตะวันออกซึ่งก็คิดว่าอะไรที่มีความสําคัญก็คือพระราชดํารัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านได้พูดถึงความพอเพียงนะครับก็เลยมาคิดว่าจะทําเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในภาคอุตสาหกรรมโดยได้มีการพัฒนาตัวร่างมาตรฐานเกิดขึ้นครับ โดยน้อมนํา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ท่านได้ส่งมอบให้มาประยุกต์ใช้นะครับ แต่เป็นกรอบแล้วก็มีการพัฒนาออกมาเป็นร่างแรกเสร็จแล้วก็นําเสนอไปยังทางสํานักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ได้มีการพัฒนาประกาศออกมาใช้เป็นมาตรฐาน มอก.9999 วัตถุประสงค์ก็ต้องการที่จะทํายังไงให้ตอบโจทย์ตามที่แนวปรัชญาของพระองค์ท่านครับ       คือการความมีความพอประมาณ จะมีเรื่องของ 3 ห่วง สองเงื่อนไขนะครับก็คือ ความพอประมาณความเป็นเหตุเป็นผลแล้วก็เรื่องของตัวความมีภูมิคุ้มกันนะครับ เช่นเดียวกันก็คือคนที่ปฏิบัติตรงนี้ได้เนี่ยก็ต้องเป็นคนที่เป็นคนดีเป็นคนมีคุณธรรม แล้วก็จะต้องมีเรื่องความรู้ด้วยนะครับถึงจะผลักดันตรงนี้ออกมาเพื่อให้เกิด เรียกกัน ว่าสมดุล มั่นคงยั่งยืนแล้วก็มีความสุขครับ เพราะฉะนั้นในกรอบเวลาคิดหรือว่าวิธีการที่ผมจะไปปฏิบัติข้อกําหนดเนี่ยเขาก็จะเริ่มต้นตั้งแต่ว่าวิธีการปูพื้นในกรอบก็คือ PDCA ความหมายคือการวางแผนการ/นําไปปฏิบัติ/การตรวจสอบตรวจเช็คนะครับแล้วก็การเฝ้าระวัง และสุดท้ายจะถึงไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องครับ อันนี้ก็จะเป็นกรอบในการทํางานแต่ครั้งนี้ในการทํางานพวกนี้เกิดขึ้นได้เนี่ยมันต้องมาจากอันแรกเลยก็คือ ผู้บริหารเนี่ยจะต้องใช้นโยบายมามอบทิศทางว่าจะไปทางไหนแล้วผู้ปฏิบัติเนี่ยก็จะมีสายกระบวนการว่ากระบวนการตรงเนี้ยจะตอบวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในเรื่องนั้นๆอย่างไรซึ่งการนําประยุกต์ใช้เนี่ยก็คือว่า สามารถจะเอากระบวนการอะไรที่ก่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ตัวที่เมื่อกี้ได้พูดคือ 3 ห่วง สองเงื่อนไขมาใช้ได้ เสร็จแล้วก็จะมีผู้ปฏิบัติงานบุคลากรก็จะเข้ารับการอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจนําไปสู่การปฏิบัติพอปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยก็จะมีการตรวจวัดตรวจเช็คกันว่าสิ่งที่ได้ปฏิบัติเนี่ยมันไปตามแผนงานที่เราวางไว้มั้ยเป็นไปตามนโยบายที่เรากําหนดไว้ไหม แล้วถ้าเป็นไปตามนั้นได้ก็จะมีพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป  การเอานวัตกรรมอินโนเวชั่นเข้ามาใช้จะพัฒนาตรงนั้นได้อย่างไรในกรณีที่มีปัญหาว่าไม่สามารถจะแก้ไขได้จะต้องทํายังไงเพื่อจะแก้ไขปัญหานั้นที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายนั้นได้ประมาณนั้นครับ หากได้รับมาตราฐานก็คือเขาจะต้องปฏิบัติตามหลักการในตัวมาตรฐานนี่แหละเขาถึงจะได้รับการรับรองครับ ความคาดหวังคือ อยากให้มาตรฐานนี้มีการนํามาประยุกต์ใช้ ซึ่งในการประยุกต์ใช้ก็อาจจะใช้วิธีการที่ว่ายกเอามาเป็นบางหัวข้อที่มีความสําคัญ คิดว่าประโยชน์จะได้รับกับทางสังคมโดยรวมนะครับในการดําเนินการตรงนี้นะครับ”

ด้าน นายวีระชัย ไชยมงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) กลุ่มโรงงานในเครือไทยเบฟ ได้กล่าวภึงมุมมองทัศนคติต่อมาตรฐานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม มอก.9999 ว่า

“สิ่งที่บริษัทเราได้ทําตรงนี้คือมาตรฐาน มอก. 9999ครับซึ่งเป็นการน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับภาคอุตสาหกรรม ทําไมถึงต้องเน้นย้ำว่าเป็นภาค              อุตสาหกรรมเพราะว่าตรงนี้เราจะคํานึงถึงสองส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ บุคลากรที่อยู่ภายในโรงงาน และส่วนที่สองคือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งโฟกัสลงไปยังชุมชนที่อยู่รายล้อมรอบโรงงาน ดังนั้นสิ่งที่เราทําไปเนี่ยมันมีตัวชี้วัดอยู่ 4 มิติครับไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/แล้วก็เรื่องของบุคลากร สิ่งที่เราได้ทําลงไปนั้นเรามุ่งเน้นว่าเราทําอย่างไรให้บุคลากรของเราเองที่อยู่ภายในโรงงานมีความเป็นอยู่ที่ดีมีสังคมที่ดี มีสิ่งแวดล้อมในการทํางานที่ดี       แล้วเราก็มองไปถึงชุมชน หลักๆชุมชนก็ต้องมีเศรษฐกิจที่ดีด้วย อยู่ได้ด้วยตัวเองสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง โดยนําองค์ความรู้ภายในโรงงานของเราหรือเป็นส่วนที่เป็นอินโนเวชั่นไปพัฒนาให้กับชุมชน ตรงนี้มีตัวชี้วัดที่เราได้น้อมนําเศรษฐกิจพอเพียงแบบนี้แล้วเป้าหมายสูงสุดของมาตรฐานนี้ก็คือ มีความสมดุล มีความมั่งคั่ง มีความยั่งยืนและที่สําคัญคือต้องมีความสุขด้วย ดังนั้นสิ่งที่เราทําไปด้วยดัชนีและตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านมันไปตอบโจทย์เรื่องของบุคลากรเรื่องของชุมชนที่อยู่รายล้อมแล้วก็ไปสู่เรื่องของสูงสุดก็คือมีความมั่นคงครับ สมดุลยั่งยืนและก็มีความผาสุก     แน่นอนครับ 3 โรงงานซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)มี    ไดเร็คชั่นที่ชัดเจนโดยเฉพาะในเรื่องของความยั่งยืนซึ่งมองว่าเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์มูลค่าจากการเติบโตที่ยั่งยืนร่วมกันครับ ดังนั้นการที่เราได้อยู่ภายใต้องค์กรตรงนี้แล้วองค์กรตรงนี้มีไดเรคชันในเรื่องของความยั่งยืนที่ชัดเจนแบบนี้เราเองจึงได้ทําเรื่องของมาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานเรื่องของความยั่งยืนเบื้องต้น แต่ในภาคอุตสาหกรรมมันก็เป็นพื้นฐานในการที่จะมุ่งเน้นไปสู่เรื่องของความยั่งยืนในอนาคต สำหรับความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราได้ทำแน่นอนว่าเราเป็นกลุ่มธุรกิจแรกของกลุ่มธุรกิจในเครือไทยเบฟที่ได้รับการรับรอง มอก. 9999 และจะเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มธุรกิจในเครืออื่นๆได้นำไปต่อยอดต่อไปครับ เรายินดีแล้วก็พร้อมที่จะให้คำแนะนำ ในระยะเวลาอันใกล้นี้เราก็ต้องทําในเรื่องของความยั่งยืนร่วมกับชุมชนที่ ไม่ว่าจะตอบโจทย์ทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานที่ดีกว่านี้ในระดับอื่นๆด้วย เช่น มาตรฐานเรื่องของการมีเรื่องของอีโคอินดัสตรีทาวน์ อันนี้ก็จะเป็นภาคต่อไปที่เราจะต้องดําเนินการครับ”  

กลุ่มธุรกิจในเครือไทยเบฟเป็นบริษัทเครื่องดื่มชั้นนําในอาเซียน และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมได้นำหลักการพัฒนา ESG มาใช้โดยมุ่งมั่น “สร้างสรรค์การเติบโตอย่างยั่งยืน” (Enabling Sustainable Growth) ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล    อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) ทั้ง 17 ข้อ และกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact)  3 โรงงานดังกล่าวเป็นกลุ่มธุรกิจในเครือไทยเบฟรายแรกที่ได้รับ มอก. 9999  ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เห็นประโยชน์ของการนำ มอก.9999 ไปปฏิบัติในองค์กร เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรและบุคลากร จึงได้มีความมุ่งมั่นในการนำการพัฒนาธุรกิจควบคู่กับการดูแลบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เพื่อให้เกิดสมดุล มั่นคง ยั่งยืน และมีความสุข พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในยุคโลกาภิวัฒน์ และสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเหตุการณ์ในอนาคต