หลักการห้าประการของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาอย่างสันติในภูมิภาค

76

โดย พินิจ จารุสมบัติ ประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีน

ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้เข้าสู่ทศวรรษใหม่แล้ว และการเชื่อมต่อของโลกก็ได้เข้าสู่ยุคใหม่เช่นกัน เมื่อประเทศไทยเข้าร่วมกลุ่ม BRICS เชื่อว่าจีน-อาเซียนจะกลายเป็นภูมิภาคเศรษฐกิจที่มีพลวัตมากที่สุดในโลก

หลักการห้าประการของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นหลักอุดมการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและเป็นหลักการที่ทั่วโลกให้การยอมรับ เป็นหลักที่ได้รับการตอบสนองหรือได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลกอย่างกว้างขวาง  ซึ่งเป็นหลักการของสันติภาพ ไม่แทรกแซงกันเคารพอธิปไตยซึ่งกันและกัน หรือเป็นหลักการที่จะสร้างสันติสุขสร้างสันติภาพสร้างความร่มเย็นในภูมิภาค

สถานการณ์โลกผันผวนเป็นอย่างมาก เกิดความขัดแย้ง การแทรกแซงของมหาอำนาจไม่ว่ากรณีที่เกิดขึ้นในยูเครนกับรัสเซีย หรือเกิดขึ้นในฉนวนกาซ่า ล้วนแล้วแต่เป็นการแทรกแซงของมหาอำนาจ  ประเด็นในทะเลจีนใต้ก็เป็นประเด็นที่มีความรุนแรง และแล้วจะสามารถก่อให้เกิดความไม่สุข หรือเป็นภัยอันตรายต่อความมั่นคงในภูมิภาคของเอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย

เพราะฉะนั้น หลักการห้าประการของการอยู่ร่วมกันและแนวทางแก้ไขปัญหาของประธานาธิบดีจีนสี จิ้นผิง เสนอ จะทำให้โลกนี้ เกิดความสงบสุข เกิดสันติสุขและหรือให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของมวลมนุษย์ชาติ และแก้ปัญหาความขัดแย้งของประชาคมโลก ผมยังจำได้ว่าหลักการ “ยุติข้อพิพาทและร่วมกันพัฒนา” ที่เสนอโดยนายเติ้ง เสี่ยวผิง ทำให้ทะเลจีนใต้มีเวลาแห่งความมั่นคงมานานหลายทศวรรษ

หลักห้าประการของประเทศจีน โลกจะถูกเดินไปในทางการอยู่ร่วมกัน การแบ่งปันและการช่วยเหลือกันเกื้อกูลกันและเจรจากัน ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ลงนามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อ พ.ศ. 2545 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จีนและประเทศในอาเซียน ยังคงทำงานอย่างหนักเพื่อบรรลุหลักปฏิบัติในทะเลจีนใต้ ที่ประชุมคณะทำงานร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการปฏิบัติตามปฏิญญา ว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ครั้งที่ 43 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่ประเทศไทย  หวังว่าอาเซียนจะใช้กลไกความร่วมมือนี้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อการเจรจาและร่วมสร้างเสถียรภาพของทะเลจีนใต้ และสร้างความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค

การแก้ไขเรื่องทะเลจีนใต้ ต้องอาศัยหลักการเรื่อง การมองอนาคตระยะยาว ซึ่งต้องทบทวนประวัติศาสตร์และแสวงหาฉันทามติร่วม

ประวัติศาสตร์ไม่สามารถบิดเบือนหรือว่าเขียนเป็นอย่างอื่นได้ ความเป็นจริงดำรงอยู่ว่า อาณาเขตบริเวณของประเทศใด ก็ยังเป็นไปตามนั้น มหาอำนาจที่อยากจะมาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเขตแดนไม่สามารถทำได้ เพราะจะมีจารึก มีตัวอักษรจีน มีศิลา มีการบันทึกในพงศาวดาร ในปีนี้มีหนังสือเล่มใหม่ เรื่อง “ประวัติศาสตร์และอธิปไตยในทะเลจีนใต้” ของ Anthony Carty ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศได้ตีพิมพ์ หนังสือได้ศึกษาเอกสารจากหอจดหมายเหตุของรัฐบาลฝรั่งเศส อังกฤษ และอเมริกา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เจาะลึกประวัติศาสตร์และอธิปไตยของทะเลจีนใต้ หนังสือได้อธิบายอธิปไตยของประเทศจีน ในภูมิภาคทะเลจีนใต้ ตามประวัติศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นหลักฐานสำคัญในการแก้เรื่องทะเลจีนใต้

ในความเป็นจริง เรื่องทะเลจีนใต้ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นการแทรกแซงของประเทศมหาอำนาจ โดยขึ้นกับผลประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจ หวังว่าอาเซียนและจีนจะอยู่ร่วมกันในการเจรจาแก้ปัญหา ทะเลจีนใต้จะมีความสงบแล้วจะไม่มีความขัดแย้ง ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ดีต่อประชาสังคม

ผมเชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทะเลจีนใต้ หรือเรื่องความขัดแย้งอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การร่วมมือกัน แบ่งปันกัน ตามหลักการห้าประการของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จะเป็นเส้นทางสู่สันติภาพ ผมเชื่อมั่นโดยตลอดว่า สันติภาพคือสิ่งล้ำค่าสำหรับทุกประเทศ และเป็นสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประชาสังคม