สลากกินแบ่งรัฐบาลกำลังได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2566 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล คือ สลากกินแบ่งรัฐบาลแบบตัวเลข 6 หลัก (L6) และสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบตัวเลข 3 หลัก (N3) โดยที่ประชุมได้สั่งการให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ไปจัดทำร่างประกาศกำหนดประเภทและรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลรูปแบบใหม่ เพื่อนำมาเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง ก่อนจะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณสลากที่เหมาะสม ช่วงเวลาในการจำหน่าย ช่องทาง และวิธีการจำหน่าย เพื่อพิจารณาต่อไป “creative econ” สัมภาษณ์พิเศษ “พันโท หนุน ศันสนาคม” ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล อธิบายรายละเอียดภารกิจของสำนักงานสลากฯ การแก้ไขปัญหาสลากราคาแพง และแนวคิดเกี่ยวกับการออกสลากรูปแบบใหม่ แบบเห็นภาพในรายละเอียดแบบชัดเจน
ภารกิจหลักของสำนักงานสลากฯต้องทำอะไรบ้าง?
ภารกิจหลักของสำนักงานสลากฯคือหาเงินเข้ารัฐ ตามพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2562 ในกฎหมายเขียนชัดเจนว่า สำนักงานสลากมีวัตถุประสงค์ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อ (1) ออกสลากกินแบ่งรัฐบาล (2) จัดการโรงพิมพ์อันเป็นอุปกรณ์ในการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาลหรื่อสิ่งพิมพ์อื่นที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ และ (3)...
หากจะกล่าวถึงผู้นำชุมชนที่ทำงานแบบทุ่มกาย ทุ่มใจ อุทิศตนเพื่อท้องถิ่นอันเป็นที่รัก “สาคร โพธิ์คำ” ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี น่าจะติดอยู่ในทำเนียบระดับแถวหน้า แม้จะมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารสูงสุดรองจากนายก อบต. เป็นหัวหน้าข้าราชการประจำใน อบต.แสมสาร แต่เขาไม่ยึดติด ให้ความเป็นกันเองกับทุกคน ทำงานได้ทุกหน้าที่ แม้กระทั่งการยกโต๊ะ เก้าอี้ บริการแขกเหรื่อ ไปจนถึงถ่ายภาพบรรยากาศการจัดงานของ อบต. ด้วยบุคลิกที่เต็มด้วยความสุขในการทำหน้าที่เพื่อท้องถิ่น
เมื่อโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เกิดขึ้น ปลัดฯสาครก็เป็นหนึ่งในผู้นำท้องถิ่นที่เข้าร่วมกิจกรรมกับอีอีซีตั้งแต่เริ่มต้น ในฐานะที่แสมสารตั้งอยู่ในพื้นที่อีอีซี (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง) ซึ่งเขามองว่าการเกิดขึ้นของอีอีซีจะมีประโยชน์ต่อทุกชุมชน โดยเฉพาะแสมสารที่มีพื้นที่ติดกับสนามบินอู่ตะเภา
“เราอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดชบุรี ใกล้กับสนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 15 กิโลเมตร ใกล้ท่าเรือเฟอร์รี่สัตหีบ ซึ่งเป็นท่าเรือพาณิชย์เปิดให้บริการระหว่างสัตหีบ-เกาะสมุย โครงการอีอีซีเป็นผลดีต่อเราคือเมื่อมีการขยายสนามบินอู่ตะเภา เกิดความเจริญด้านการท่องเที่ยว โรงแรม ศูนย์การค้าต่างๆ ในพื้นที่จะสร้างโอกาสให้ชาวแสมสารมีงานทำ เป็นแหล่งรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งแสมสารมีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลขึ้นชื่อระดับโลก อยู่ปลายสุดของอำเภอสัตหีบ เป็นยอดปลายแหลมเล็กที่สุดของจังหวัดชลบุรี คล้ายๆกับแหลมกู๊ดโฮป ซึ่งตั้งอยู่ตอนปลายสุดของทวีปแอฟริกา...
จาง เจียหมิง ประธานบริษัทเกรท วอลล์ มอเตอร์ส ภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย หรือ GWM กล่าวในงานเสวนา APEC Energy Forum 2022 : APEC คลังสมองพลังงานอัจฉริยะ ณ ห้องจันทร์ประภัสสร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ว่า ปัจจุบัน การพัฒนาอย่างยั่งยืน กลายเป็นฉันทามติของทั่วโลก อุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ พลังงานใหม่อัจฉริยะและเป็นเอกลักษณ์เป็นแนวทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก นี่ไม่ใช่การวิวัฒนาการจากพลังงานเชื้อเพลิงสู่พลังงานใหม่ แต่ยังเป็นการพัฒนาที่บูรณาการกับอินเตอร์เน็ต รถยนต์ไม่เพียงเป็นเครื่องมืออุปกรณ์คมมนาคม แต่ยังเป็นชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เรา
“ไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่พัฒนาอย่างรวดเร็วที่ประเทศจีน ยอดการผลิต รถยนต์พลังงานใหม่ อยู่ในอันดับที่หนึ่งของโลกติดต่อกัน 7 ปีแล้ว ยอดการขายรถยนต์พลังงานใหม่ทั่วโลกอยู่ที่6.7 ล้านคัน ยอดขายที่ประเทศจีนอยู่ที่ 3.5 ล้านคัน ซึ่งมากกว่า 50% ของทั่วโลก เท่ากับว่าการส่งมอบรถยนต์พลังงานใหม่ 2 คันของโลก มีหนึ่งคันมาจากประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ....
อัครวุฒิ ตั้งศิริกุศลวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวก้า อินเตอร์เทรด แอนด์ เอ็กซิบิชั่นส์ (ดูไบ) และ ประธานบริหารไทยมาร์ท บาห์เรน ศูนย์การค้าของประเทศไทยแห่งแรกในตะวันออกกลาง เติบโตจากเด็กโรงพิมพ์ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว ใฝ่ฝันอยากประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ หลังเรียนจบวิศวะจุฬาปี 40-41 แม้จะเป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งพอดี แต่ความฝันที่เขาวาดไว้ไม่จางหาย ทำงานประจำกับบริษัท สยามราชธานี ในขณะเดียวกันก็หาอาชีพเสริม ขายแอมเวย์ เฮอร์เบอร์ไลฟ์ ขายประกัน ตอนเย็นว่างเห็นเพื่อนๆไปเรียนภาษาอังกฤษ ก็ตามไปเรียน เรียนจบเพื่อนไปเมืองนอกกันหมด แต่เขาไม่มีเงินไปต่างประเทศ วันหนึ่งมีโอกาสนั่งดูไพ่ยิปซี หมอดูบอกว่า “คุณจะได้เดินทางไปดินแดนที่มีทองคำสีดำ” เขาไม่เข้าใจว่าดินแดนที่ว่าคือที่ไหน คิดว่ามั่วแน่นอน จนวันหนึ่งเข้าไปแนะนำสินค้าในซอยนานา สุขุมวิท เจอมาดามแมกกี้ที่เคยรู้จัก เธออุดหนุนสินค้า พร้อมกับชวนไปขายสินค้าที่ประเทศโอมาน ตะวันออกกลาง แต่มีข้อแม้ว่าต้องลาออกจากงานประจำ
“ตอนแรกที่มาดามชวน ผมนึกถึงคำพูดของหมอดูไพ่ยิปซีเลย ตัดสินใจบินไปประเทศโอมาน พอลงจากเครื่องบิน แปลกตามาก คนแต่งชุดเหมือนกันหมด ยูนิฟอร์มขาวกับดำ ไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต มาดามให้ขายสินค้าในงานแฟร์แห่งหนึ่ง...
“เจอจ่ายจบ” มีผู้สนใจทำประกันชนิดนี้จำนวนมหาศาล และทำให้บริษัทประกันวินาศภัยที่ขายเบี้ยประกันดังกล่าวไม่สามารถชำระเบี้ยจากได้พิษไวรัสโควิดที่แพร่ระบาดจนมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ต้องปิดตัวไปถึง 4 บริษัท รวมยอดเบี้ยค้างจ่ายกว่า 5.4 หมื่นล้านบาท และเจ้าหนี้ประมาณ 6.7 แสนราย กลายเป็นภารกิจที่กองทุนประกันวินาศภัย จะต้องดำเนินการชำระหนี้ให้กับประชาชนที่เป็นหนี้เกิดจากสัญญาประกันภัยโควิด-19 ของบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต (รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท รวมทุกกรมธรรม์ต่อ 1 ราย) ฟังชัด..ชัด จาก คุณชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย เกี่ยวกับแผนดำเนินการชำระค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่ทำประกันโควิด-19 ทุกคน
ผู้จัดการกองทุนวินาศภัย กล่าวว่า ขณะนี้ได้เริ่มในเรื่องกระบวนการตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้ จึงอยากยืนยันกับประชาชนที่เป็นเจ้าหนี้ทุกรายว่า กระบวนการจ่ายเงินของกองทุนประกันวินาศภัย จะดำเนินการตามขั้นตอน ตั้งแต่การตรวจสอบหลักฐานที่เจ้าหนี้ได้ยื่นขอรับเงิน ถูกต้อง ชัดเจน ตรงตามความเป็นจริง โดยเฉพาะคำขอรับชำระหนี้ 4 บริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดจากการทำประกันภัยโควิด-19 เช่น เจอจ่ายจบ โดยได้ไปเชื่อมลิงก์กับระบบของกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับหลักฐานการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยระบบ RT-CPR
อย่างไรก็ตาม การทำประกันโควิด-19...
การได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญถือเป็นความภาคภูมิใจของคนทำงาน แต่สำหรับ ชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย เขาต้องเข้ามารับตำแหน่งในช่วงเบี้ยประกันภัย “เจอจ่ายจบ” สร้างความระส่ำครั้งใหญ่ต่อวงการประกันวินาศภัยภัย มีผู้สนใจทำประกันชนิดนี้จำนวนมหาศาล และทำให้บริษัทประกันวินาศภัยที่ขายเบี้ยประกันดังกล่าว ไม่สามารถชำระเบี้ยจากได้พิษไวรัสโควิดที่แพร่ระบาดจนมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ต้องปิดตัวไปถึง 4 บริษัท รวมยอดเบี้ยค้างจ่ายไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท มีจำนวนผู้เอาประกันที่จะต้องได้รับการชำระหนี้หลายแสนคน นั่นคือสิ่งที่ “กองทุนประกันวินาศภัย” ต้องเข้ามารับผิดชอบแทนบริษัทบริษัทที่ปิดตัวไป
“ตอนที่ผมเข้ามารับตำแหน่งที่นี่ พวกพ้องต่างก็ตั้งใจจะมาแสดงความยินดี ตอนหลังก็เปลี่ยนมาให้กำลังใจแทน” คุณชนะพล กล่าวด้วยสีหน้าที่มีรอยยิ้ม แม้จะต้องแบกรับภาระอันหนักอึ้ง “สำหรับผมปัญหาครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก ผมมองว่าเป็นทั้งวิกฤตและโอกาส”
ในฐานะที่ คุณชนะพล เคยบริหารกองทุนประกันวินาศภัย ตั้งแต่ยังเป็นกองทุนพัฒนาประกันภัย ในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จึงทราบถึงเจตนารมณ์ในการยกระดับจากกองทุนพัฒนาประกันภัย เป็น กองทุนประกันวินาศภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่า เมื่อทำประกันวินาศภัยแล้วจะต้องได้รับการคุ้มครอง ดูแลเบี้ยประกัน แม้ว่าบริษัทที่รับทำประกันภัยจะถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือปิดตัวลงด้วยเหตุผลใดๆ
“ในกรณีบริษัทประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือ ปิดกิจการ หนี้สินของประชาชนจะได้รับการชดใช้จากกองทุนฯ ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคน...
เป็นที่ทราบกันดีว่าการขายเบี้ยประกันภัย “เจอจ่ายจบ” กลายเป็นมหากาพย์ครั้งใหญ่ของวงการประกันภัย มีผู้สนใจทำประกันชนิดนี้จำนวนมหาศาล และทำให้บริษัทประกันวินาศภัยที่ขายเบี้ยประกันดังกล่าวไม่สามารถชำระเบี้ยจากได้พิษไวรัสโควิดที่แพร่ระบาดจนมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ต้องปิดตัวไปถึง 4 บริษัท รวมยอดเบี้ยค้างจ่ายไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ก่อนหน้าจะเกิดเคส “เจอจ่ายจบ” ก็มีบริษัทประกันวินาศภัยปิดตัวไป 2 บริษัท ทำให้รวม 6 บริษัทมีเบี้ยค้างจ่ายเกือบ 7 หมื่นล้านบาท โดยมีจำนวนผู้เอาประกันที่จะต้องได้รับการชำระหนี้กว่า 7 แสนคน นั่นคือสิ่งที่ “กองทุนประกันวินาศภัย” ต้องเข้ามารับผิดชอบ
“CE” มีโอกาสสัมภาษณ์ “คุณชนะพล มหาวงษ์” ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 และต้องมาเจอกับ “เผือกร้อน” เล่าถึงแนวทางการบริหารจัดการหนี้ดังกล่าว ทั้งหนี้ที่เกิดจากการทำประกันวินาศภัยทั่วไป และ หนี้กรมธรรม์เจอจ่ายจบ ว่า
“ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารการขอรับชำระหนี้ทั้งจาก 4 บริษัทที่ปิดตัวจากกรณี “เจอจ่ายจบ” และ 2 บริษัทแรกที่ปิดตัวไปก่อนหน้านี้ โดยในเรื่องการชำระหนี้ก็ดำเนินการไปพร้อมกันทุกบริษัท...
โลกของการเงินดิจิทัลยังคงก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ดูเหมือนปัจจุบันยังมีกำแพงใหญ่ขวางหน้าอยู่ จนทำให้เราวนเวียนกับคริปโต โทเคน NFT (Non-Fungible Token) และเทคนิคการเงินแบบแปลกๆ แต่ยังคงมีคำถามกับมูลค่าที่เป็นจริงของมัน
“ราคาพวกนี้มันอิงจากอะไรกันแน่ หรือเพียงแค่อารมณ์ หรือการปั่นราคา?” คือคำถามที่เราเจอบ่อยมากจากโลกการเงินแบบใหม่
NFT ในโลกปัจจุบันนั้นกลายเป็นตลาดของนักสะสม ภาพของงานศิลป์ งานวรรณกรรม ฯลฯ ถึงแม้จะสร้างมาจากฐานของเทคโนโลยีกับความคิดสร้างสรรค์จนกลายเป็นผลงานเฉพาะตัวที่มีเพียงหนึ่ง สุดท้ายก็กลายเป็นเวทีให้นักปั่นทั้งหลายเข้ามาซื้อเพื่อเก็งกำไรโดยที่ไม่มีเรื่องการใช้งานจริงในหัวแต่อย่างใด เราจึงมีภาพลิง ภาพแมว แปลกประหลาดเกิดขึ้นมากมายในตลาด บางส่วนก็ขายลอยๆ บางส่วนก็เอาไปผูกกับเกม หรือโลกเสมือนจริงอื่นๆ
หรือว่าข้อจำกัดของโลกการเงินแบบใหม่ที่ว่าไม่ให้ผูกติดกับกฎเกณฑ์ธุรกิจ และเงื่อนไขภาครัฐ ในโลกเดิม ทำให้มุมมองของ Blockchain ที่วางไว้ง่ายๆ แค่ให้ติดต่อกันได้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ถูกวางเงื่อนไขใหม่จนไม่สามารถนำมาใช้ได้ในโลกความเป็นจริง
นั่นทำให้โลกของ NFT ถึงทางตัน จนไปไม่ได้ไกลเกินกว่านี้อีกแล้วหรือ?
โดยพื้นฐานแล้วการสร้าง NFT ก็เหมือนกับการสร้างไฟล์ดิจิทัลทั่วไปนั่นแหละ แต่ที่สร้างมูลค่าก็คือ แต่ละไฟล์ต้องไม่เหมือนกัน มีความแตกต่าง และมีหนึ่งเดียว ถ้าเป็นไฟล์โหลๆ ที่คัดลอกกันได้ มันก็จะหมดมูลค่าลงไป
คำถามคือ นอกจากไฟล์ศิลปะ จะมีอะไรที่มีเพียงหนึ่งเดียว ไม่ซ้ำกัน พอที่จะมีมูลค่านำไปสู่การซื้อขายได้อีกหละ
พวกเราลืมอะไรกันไปหรือเปล่า มนุษย์ หรือ...
สสปท. ดึงสุดยอด 9 ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เปลี่ยนมายเซ็ทคนทำงานให้ตระหนัก “ความปลอดภัย” รูปแบบใหม่ที่มีความซับซ้อน หลากหลาย ตามองค์ความรู้ เทคโนโลยี รวมไปถึงรสนิยมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เปิด “สามย่านมิตรทาวน์” ดึงทุกเจนร่วมแชร์ประสบการณ์ 10-12 มิ.ย. 65 พร้อมถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์เข้าถึงทุกกลุ่มทั่วโลก
ผศ.ดร.ชลฤทธิ์ เหลืองจินดา ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ สสปท. หน่วยงานในสังกัด กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ภายหลัง สสปท. ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน เมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา ได้นำภารกิจคำว่า “ความปลอดภัย” มาขับเคลื่อนในรูปแบบใหม่ ตามภารกิจใหม่ คือ ฉับไว เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนตระหนักในความปลอดภัย โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือทำอย่างไรให้คนที่ประกอบวิชาชีพมีความปลอดภัย ไม่ว่าจะอยู่ในมิติใด ทำหน้าที่ส่งเสริม ให้ความรู้ ขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคนในสังคม...
จากเหตุการณ์ฝนตกหนัก และมีพายุฝนพัดถล่มอาคารในสนามบินดอนเมืองเมื่อคืนวันที่ 18 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมา ทำให้หลังคาและกำแพงของอาคารได้รับความเสียหายบางส่วน แต่ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บนั้น โดยสมมุติฐานเบื้องต้นคือ 1. ความแรงของพายุฤดูร้อนที่มาพร้อมกับฝนฟ้าคะนอง และ 2. น้ำหนักของน้ำฝนที่ตกลงมาและอาจขังอยู่ในบางบริเวณของหลังคา ทำให้เกินกำลังรับน้ำหนักของชิ้นส่วนโครงสร้างได้ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริง ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ส่งวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบหาสาเหตุและขอบเขตของความเสียหายต่อไป
อย่างไรก็ตามบทเรียนจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เห็นถึงความรุนแรงของพายุฤดูร้อนที่อาจจะสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างในช่วงระยะเวลานี้ได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยง 6 ประการคือ
1. พายุฤดูร้อนมักเกิดในช่วงเดือนเมษายน หรือในช่วงก่อนเริ่มฤดูฝน เป็นพายุที่มีความรุนแรงมาก เนื่องจากความแปรปรวนในกระแสลม อาจสร้างแรงกระทำต่อโครงสร้างได้มากกว่าแรงลมทั่วไป 2 ถึง 3 เท่า
2. พายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีมวลอากาศเย็น หรือที่เรียกว่าความกดอากาศสูงพัดมาปะทะกับมวลอากาศร้อน หรือความกดอากาศต่ำ ส่งผลให้อากาศในบริเวณนั้นแปรปรวนเกิดความรุนแรงจนกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น
3. พายุฤดูร้อนอาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ในบางบริเวณ แต่ก็มีความรุนแรงมากที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้างที่มีพื้นผิวหรือพื้นที่ปะทะลมมาก เช่น หลังคา และ ผนัง เป็นต้น
4. โครงสร้างที่อ่อนไหวต่อพายุฤดูร้อนเช่น...