วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน 2024
ภาคเกษตรทั่วโลกเร่งปรับตัวเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ถึงเวลาเกษตรกรไทยต้องปรับตัว นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์ภาคเกษตรและธุรกิจการเกษตร พบว่า ภาคเกษตรทั่วโลกต่างพยายามเร่งปรับตัวเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน โดยเฉพาะการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้กับภาคเกษตร รวมทั้งไทยที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคเกษตร ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรไทย สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum)  มีการรายงานข้อมูลว่า ภาคเกษตรกรรมมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากภาคพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีการใช้น้ำจืดมากกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณน้ำจืดทั่วโลก ซึ่งการทำเกษตรกรรมเพื่อให้มีผลผลิตที่มากเกินความต้องการ (Overproduction) และการทำเกษตรกรรมแบบไม่ยั่งยืน (Unsustainable Farming) รวมทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะยิ่งทำให้พื้นที่และทรัพยากรทางการเกษตรเสื่อมโทรม ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งเกิดความเสื่อมโทรม ส่งผลให้สูญเสียผลิตภาพการผลิตมากถึง 400,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยสาเหตุหลักมาจากเกษตรกรรายย่อยซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตที่มีผลผลิตทางการเกษตรร้อยละ 29 ของโลก ที่ไม่สามารถทำการเกษตรแบบยั่งยืน ปัจจุบันเทรนด์ธุรกิจการเกษตรเริ่มใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนด้านการเกษตรช่วยลดความเสื่อมโทรมของพื้นที่เกษตรกรรมและลดการสูญเสียผลิตภาพการผลิตทางการเกษตร โดยการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่เข้ามาช่วยในการทำเกษตร ดังนี้ • ธุรกิจเพื่อการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคปศุสัตว์การเลี้ยงสัตว์ทั่วโลกมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 14.5 โดยร้อยละ...
ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมภูมิอากาศ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ต้องใช้แหล่งวัตถุดิบจากธรรมชาติและการเกษตร ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องตระหนักและถึงเวลาที่จะเปิดประตูสู่ยุคอาหารอนาคต เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน  finbiz by ttb ขอนำเสนอข้อมูลในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ SME ใช้เป็นแนวทางประกอบในการดำเนินธุรกิจ ประเทศไทย คือ “ครัวโลก ที่มีจุดแข็งสำคัญ ประเทศไทยมีจุดแข็งคือ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น “ครัวของโลก” (Kitchen of the World) ที่มีความโดดเด่น ทำให้ในปี 2022 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอาหารของไทยมีการส่งออกเป็นอันดับที่ 14 ของโลก คิดเป็นสัดส่วน 2.6% และเป็นอันดับที่ 4 ของเอเชีย เป็นรองแค่จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และอันดับที่ 2 ของอาเซียน เป็นรองเพียงอินโดนีเซีย แต่เมื่อเทียบสัดส่วนของพื้นที่และประชากรแล้ว ไทยยังจัดว่าสามารถบริหารจัดการได้ดี และไทยยังเป็นผู้ส่งออกสำคัญลำดับต้น...
ปัจจุบันมีธุรกิจ SME เกิดใหม่ทุก ๆ ปี และมีความหลากหลายอย่างมาก ซึ่ง SME เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพราะกว่า 90% ของธุรกิจในไทยล้วนเป็น SME ทั้งสิ้น ในโอกาสที่ปี 2023 กำลังจะผ่านไป finbiz by ttb ขอชวนผู้ประกอบการ SME จับตาเทรนด์ในปี 2024 เพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผน และเตรียมตัวให้ก้าวทันเทรนด์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจแข็งแกร่ง สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน เกิดอะไรขึ้นบ้างในปี 2023 และเทรนด์ไหนที่ยังได้ไปต่อ จากเทรนด์ปี 2023 จะพบว่า ยังมีเทรนด์ที่น่าสนใจให้ไปต่อ เพียงแค่ผู้ประกอบการปรับแผนธุรกิจ เพิ่มการปรับปรุงรูปแบบต่อยอดเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เข้ากับปี 2024 ได้แก่  •           เทรนด์ Health & Wellness สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี อาหารที่มีประโยชน์ จะไปต่อได้อีกหลายปี...
ในปี 2565 ไทยมีพื้นที่ปลูกว่านหางจระเข้ทั่วประเทศ ประมาณ 10,000 ไร่ และมากกว่าร้อยละ 95 ของพื้นที่ปลูกอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รองลงมา คือ กาญจนบุรี และเพชรบุรี มีผลผลิตรวมทั่วประเทศกว่า 1.1 แสนตัน ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ภายในประเทศ สำหรับการนำเข้าส่งออกมีไม่มาก โดยข้อมูลจากใบขนสินค้าของกรมศุลกากร พบว่าไทยนำเข้าในรูปแบบผงเกือบทั้งหมด (ปี 2565 ไทยนำเข้าผงว่านหางจระเข้ 2,161 กิโลกรัม โดยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา) และส่งออกในรูปแบบอบแห้ง (ปี 2565 ไทยส่งออกว่านหางจระเข้อบแห้ง 420 กิโลกรัม โดยส่งออกไปคูเวต และโอมาน) อย่างไรก็ตาม ว่านหางจระเข้มีการนำไปแปรรูปเป็นสารสกัด และใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายอุตสาหกรรม อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และยา แต่การเก็บข้อมูลการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรมีข้อจำกัด เนื่องจากไม่มีพิกัดศุลกากรที่จะจำแนกออกมาได้ ดังนั้น การดูข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศของพืชสมุนไพร จึงไม่ครอบคลุมมูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์สมุนไพร นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์...
ดาวเทียม (Satellites) จะปฏิวัติการสื่อสารของผู้คนและสิ่งต่าง ๆ อุปกรณ์ IoT โดยรอบขนาดจิ๋ว (Tiny Ambient IoT) จะตรวจจับและติดตามทุกสิ่งด้วยค่าใช้จ่ายต่ำและไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ การประมวลผลที่ปลอดภัย (Secure Computation) จะเปิดโลกใหม่ของระบบนิเวศดิจิทัล มนุษย์ดิจิทัล (Digital Humans) จะกำหนดนิยามใหม่ให้กับผู้ช่วย หุ่นยนต์และบริการต่าง ๆ  โดรนและหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomic Drones and Robots) จะทำงานและเรียนรู้ไปพร้อมกัน การ์ทเนอร์ เผย 5 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคตดิจิทัลของภาคองค์กร ได้แก่ มนุษย์ดิจิทัล (Digital Human), การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication), อุปกรณ์ IoT โดยรอบขนาดจิ๋ว (Tiny Ambient IoT), การประมวลผลที่ปลอดภัย (Secure Computation) และหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomic Robots) นิค โจนส์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “เทคโนโลยีทั้งห้านี้มีศักยภาพในการเปลี่ยนโฉมขององค์กรธุรกิจได้และควรได้รับการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนในตอนนี้เลย...
การบริหารสื่อสารยุคดิจิทัล ถึงเวลาองค์กรไทยเน้นบริหารความเสี่ยงชื่อเสียงองค์กร พร้อมพัฒนาทักษะผู้บริหารระดับสูงรับมือสื่อสารภาวะวิกฤต เหตุพฤติกรรมผู้บริโภคปรับแรง ชอบบิดเบือน บันทึก และอุดมดราม่า ที่สำคัญ ความน่าเชื่อถือของผู้บริหารระดับสูงไทยต่ำกว่ามาตรฐานโลก นายสราวุธ บูรพาพัธ ที่ปรึกษาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บริษัท มาร์เก็ต-คอมส์ จำกัด เปิดเผยผลวิจัยทั่วโลกล่าสุดของ Edelman Trust Barometer (พ.ศ. 2564) พบว่า เมื่อองค์กรเกิดวิกฤต กรรมการผู้จัดการหรือ Chief Executive Officer:CEO ความน่าเชื่อถือต่ำเพียง 44% จัดอยู่ในเกณฑ์ไม่น่าเชื่อถือ หากศึกษาเฉพาะประเทศไทยจากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,150 ราย พบมีค่าเฉลี่ยเพียง 31% ต่ำกว่าทั่วโลก รวมทั้งมีค่าเฉลี่ยศรัทธาจากสาธารณชนลดน้อยลงทุกปี ซึ่งอาจเกิดจากการบริหารความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดช่องว่างระหว่างการรับรู้ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับความเป็นจริงขององค์กร หากความคาดหวังต่ำกว่าความเป็นจริง (เกิดช่องว่างมาก) เกิดขึ้นได้เมื่อการสื่อสารน้อยเกินไปหรือเกิดวิกฤตศรัทธาบางประการต่อองค์กร ขณะเดียวกัน หากความคาดหวังสูงเกินความเป็นจริง เมื่อพบความจริงขององค์กร ไม่เป็นตามที่คาดหวังก็จะสูญศรัทธาลงได้เช่นกัน ทั้งนี้ การบริหารความคาดหวังและการรับรู้ดูจะเป็นหน้าที่สำคัญของนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันเสียแล้ว การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี วัฒนธรรมกลุ่มย่อย ค่านิยม เป็นแรงผลักดันต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภค...
ในยุคที่อุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ทั้งด้วยนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลง และแนวคิด ESG ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีความตระหนัก ทั้งในเรื่องเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจในยุคดิจิทัล พร้อมก้าวผ่านความท้าทาย มุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน  finbiz by ttb ได้รวบรวม 9 เคล็ดลับ โดยได้ถอดจากกรณีศึกษา อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ จากหลักสูตร LEAN for Sustainable Growth by ttb รุ่นที่ 18 ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม ในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลง 1. ต้องรู้ทันเทรนด์โลกที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันเทรนด์โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการเข้ามาของนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภค ดังนั้น การปรับตัวจะต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ ทั้งนวัตกรรมการผลิต ไปจนถึงเทคนิคและโมเดลทางการตลาด อย่างในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่กำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาป (ICE: Internal Combustion Engine) เป็นยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV: Electric Vehicle) ซึ่งกระทบทั้งอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้กระทั่งวิธีการขาย ยกตัวอย่าง ในขณะที่ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่รวมกันอยู่ที่งาน...
ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดของไทย จนได้คณะรัฐบาล และมีการแถลงนโยบายที่ผ่านมา ซึ่งชาวไทยทั้งประเทศให้ความสนใจติดตาม หากจะกล่าวว่า รัฐบาลใหม่ถือเป็น “ความหวัง” ของทุกภาคส่วนก็คงไม่ผิดนัก เพราะแม้ว่ากระแสของความขัดแย้งทางด้านขั้วการเมืองยังคุกรุ่นอยู่ แต่สำหรับความต้องการให้เกิดรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นอย่างรวดเร็ว นั้นคือสิ่งที่ประชาชนและผู้ประกอบการ ต่างรอคอยที่จะให้เร่งเดินหน้าแก้ไขนานาปัญหาอย่างเร่งด่วน เป็นที่น่าเสียดายว่าในการแถลงครั้งนี้ นโยบายส่วนใหญ่ยังเป็นภาพกว้าง ขาดรายละเอียดที่สำคัญไปมากทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังพอเห็นทิศทางได้ว่ารัฐบาลจะมุ่งเน้นทางด้านใดบ้าง การบริหารและแก้ไขปัญหาที่สำคัญของประเทศเศรษฐกิจภาคครัวเรือนถึงในระดับมหภาค ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาประชาชนส่วนใหญ่ ต่างเผชิญกับปัญหาสารพัด ทั้งปัญหาค่าครองชีพ สินค้าที่จำเป็น ข้าวของมีการปรับราคาสูงขึ้น ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือน ซึ่งปัญหาปากท้องของประชาชนส่วนใหญ่นี้ล้วนส่งผลกระทบต่อปริมาณ และกำลังซื้อที่จะส่งผลต่อภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมในที่สุด จะเห็นได้ว่าแม้ภาวะเศรษฐกิจไทยจะยังไม่ถึงขั้นย่ำแย่นัก เนื่องจากยังมีภาคท่องเที่ยวเข้ามาช่วยพยุง แต่ตัวเลขการผลิตและการส่งออก ซึ่งมีตัวเลขติดลบมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และโครงสร้างทางภาษีเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศที่รอการแก้ไข  ดังนั้น รัฐบาลใหม่จึงมุ่งเน้นไปที่การใช้งบประมาณส่วนใหญ่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายประชานิยมที่หาเสียงไว้เป็นหลัก แทนที่จะเร่งแก้ไขปัญหาที่มาจากโครงสร้างหลัก  ในส่วนนี้ถ้าหากรัฐบาลทำได้สำเร็จ ก็จะทำให้เกิดการกระตุ้นการบริโภคได้ในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต้องเร่งวางรากฐานสำหรับการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมในระยะยาว นอกจากนี้ ยังมีทั้งข้อคิดเห็นทั้งจากภาคประชาชนและการอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภา ในการเร่งแก้ปัญหาที่สำคัญอื่นๆ นอกเหนือจากการแก้ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม อาทิ การจัดการระบบสาธารณูปโภคอย่างมีประสิทธิภาพ, การสร้างคุณภาพชีวิต ความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชน,...
สนค. ศึกษาการเติบโตของการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน (Cross-border e-Commerce - CBEC) ในตลาดจีน พบว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการที่คนจีนใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนจากการเกิดโควิด-19 และรัฐบาลจีนมีนโยบายสนับสนุน เผยเป็นโอกาสในการขยายตลาดส่งออกของไทย ชี้เป้าสินค้าอัตลักษณ์ สินค้าอุปโภคบริโภค มีโอกาสสูง นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ทำการศึกษาการเติบโตของการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน หรือ Cross-border e-Commerce (CBEC) พบว่า มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญของไทย โดยมีปัจจัยจากการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยปี 2565 มีจำนวน 1.067 พันล้านคน เพิ่มขึ้น 35.49 ล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2564 และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันมาใช้ e-Commerce มากขึ้น ทั้งนี้ ยังพบว่า รัฐบาลจีนมีมาตรการและนโยบายสนับสนุน เช่น...
ในงานสัมมนา “หนึ่งทศวรรษของหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง  ร่วมสร้างโชคชะตาร่วมกันเอเชีย-แปซิฟิก” ซึ่งจัดโดยศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน  และศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน  เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 ณ หอประชุมอาคารอเนกประสงค์  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  รศ.ดร.โภคิน พลกุล  นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน  ได้กล่าวในช่วงเวทีเสวนาหัวข้อ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกับปาฏิหาริย์แห่งเอเชีย-แปซิฟิกในยุคสมัยใหม่” สรุปความว่า เมื่อจีนเปลี่ยนแปลงเป็น “จีนใหม่”ในปี 1949 นั้นจีนต้องเผชิญกับอะไรและตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร  มีหลักการและวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างไร เราจะพบว่าตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้  จีนเน้นเรื่องความเท่าเทียม  ความอยู่ดีกินดี  การจะต้องไม่มีคนจน  ในปี 2025 จีนจะต้องพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง  นี่คือเป้าหมายที่จีนวางเอาไว้  ถามว่าเพื่อจะถึงเป้าหมายเขาจะต้องทำอะไรบ้าง ประการแรกจีนเป็นคอมมิวนิสต์  เขาใช้ลัทธิมาร์กซ์- เลนินนิสม์  จุดแข็งของจีนคือพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่บริหารประเทศอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 1949 ภายใต้ผู้นำ 5 ท่าน ตั้งแต่เหมา เจ๋อตุง  เติ้ง เสี่ยวผิง  เจียง  เจ๋อหมิน  หู จิ่นเทา  และสี จิ้นผิง   แต่ละท่านได้สร้างคุณูปการมากมาย จุดเปลี่ยนสำคัญของจีนคือเมื่อเปลี่ยนแปลงเป็นคอมมิวนิสต์ใหม่ๆมีความยากคือระบบเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ...