วันพุธ ที่ 1 พฤษภาคม 2024
เมื่อวันที่ 16 ม.ค. ที่ผ่านมา ได้มีเวทีเสวนา “รวมกัลยาณมิตร ชุบชีวิตคลองฝั่งธนบุรี” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดโดยโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรีด้วยเครือข่ายคลังสมองของพื้นที่และแผนผังภูมินิเวศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน (โครงการ Green Thonburi)  เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ชุนชนริมฝั่งคลอง บนฐานทรัพยากรและศักยภาพของชุมชน ระหว่างตัวแทนชุมชนริมฝั่งคลอง นักวิจัย และว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ดร.กัญจนีย์ พุทธิเมธี อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า  การที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองด้วยระบบถนน  ทำให้คูคลองที่เคยเป็นระบบคมนาคมสำคัญของคนฝั่งธนฯถูกมองข้าม “ระบบคูคลองคือหนึ่งในต้นทุนด้านทรัพยากร ที่ทำให้ชุมชนในพื้นที่บริเวณนี้มีอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่น่าสนใจ แต่เมื่อระบบคมนาคมที่เข้ามา ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการใช้คลองเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทาง ทำให้คูคลองในฝั่งธนฯ จำนวนมากถูกปล่อยทิ้งให้ตื้นเขิน หรือกลายเป็นแหล่งรับน้ำเสียจากเมือง โดยเราพบว่าการทำระบบขนส่งทางน้ำ (Water Transportation) ต่อเชื่อมกับระบบถนนหรือระบบราง และเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเดินทางเข้าสู่เมือง เราจะสามารถทำให้พื้นที่ฝั่งธนฯ ที่มีความโดดเด่นทั้งด้านกสิกรรม ธรรมชาติ และวิถีชีวิต เหล่านี้ เป็น “พื้นที่เศรษฐกิจสีเขียว” (Green Economy)  ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในชุมชนได้จริง” คุณรสนา โตสิตระกูล...
การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรไอทีรวมถึงผู้ใช้ในปีนี้และอนาคต จากการสำรวจปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ที่เกิดจากบทเรียนของธุรกิจต่าง ๆ ที่ผู้บริหารทั้งด้านธุรกิจและด้านไอทีได้เรียนรู้จากการหยุดชะงักและความไม่แน่นอนที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง เพื่อไปสู่การให้ความสำคัญกับมนุษย์เป็นหลัก สร้างความยืดหยุ่นในการแข่งขัน และความสามารถในการบรรลุเป้าหมายที่เหนือกว่า             แดริล พลัมเมอร์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า "บทเรียนที่ได้รับจากการระบาดคราวนี้คือความคาดการณ์สิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน และเตรียมพร้อมเดินหน้าด้วยการใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายไปพร้อม ๆ กัน ผู้นำที่มอบทางเลือกให้กับทีมงานเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรและวางแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที มีความยืดหยุ่นสูงจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ”              “ความยืดหยุ่น โอกาสและความเสี่ยง ล้วนเป็นองค์ประกอบของการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ดี เพียงแต่เวลานี้ปัญหาเหล่านี้ต้องมีการตีความใหม่ ดังนั้นการคาดการณ์ในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการสร้างความยืดหยุ่นด้วยวิธีที่ไม่ใช่รูปแบบเดิม ๆ ตั้งแต่ทักษะการทำงานไปจนถึงโมดูลทางธุรกิจ ขณะที่ต้องมองโอกาสและความเสี่ยงที่ต้องมีการตระหนักถึงความเร่งด่วนมากกว่าที่เคยเป็น”           ภายในปี พ.ศ. 2567 ผู้บริโภคราว 40% จะมีพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาที่ถูกติดตามหรือรวบรวมไว้ลดบทบาทลง ซึ่งทำให้ธุรกิจสร้างรายได้จากข้อมูลเหล่านั้นได้ยากขึ้น             ผู้บริโภคตระหนักมากขึ้นว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทต่าง ๆ ได้จากพวกเขามีมูลค่ามหาศาล รวมถึงพลังของข้อมูลเมื่อใช้อัลกอริธึมการแนะนำต่าง ๆ เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรม โดยที่ผู้บริโภคส่วนหนึ่งกำลังหาวิธีป้องกันการติดตามข้อมูลและพฤติกรรมส่วนตัวเพื่อเป็นการตอบโต้ อาทิ...
เมื่อเร็ว ๆ นี้ แฟรงคลิน เทมเพิลตัน  องค์กรการจัดการการลงทุนระดับโลก ได้จัดงานเสวนาด้านการลงทุนในหัวข้อการลงทุนที่โดดเด่นของโลกยุคปัจจุบันที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศการลงทุนทั่วโลก โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจากบริษัทต่าง ๆ อาทิ Western Asset และ Brandywine Global ให้ข้อมูลด้านการลงทุนในแง่มุมต่าง ๆ ในระดับโลก ที่นักลงทุนไทยควรจับตามองและศึกษาอย่างใกล้ชิด             บทความพิเศษนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนแรก ความเสี่ยงเงินเฟ้อและนโยบายระดับมหภาค : ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญต่อกระบวนทัศน์การลงทุน พูดถึงการเปลี่ยนแปลงระดับมหภาคและความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญ พร้อมชี้โอกาสการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนของบริษัทฯ ประกอบด้วย มร. เคน ลีช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุนของ Western Asset  มร. ไมเคิล ฮาเซนสตาบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุนของ Templeton Global Macro มิส โซนาล เดซาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุนของ Franklin...
บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลก “ArcGIS” ในประเทศไทยมา กว่า 30 ปี เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยี GIS ที่เป็นไฮไลต์ของปี 2565 เพื่อการประยุกต์ใช้วิเคราะห์ หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที กุญแจสู่การบริหารจัดการหน่วยงาน พร้อมเดินหน้าพัฒนา ArcGIS ให้เป็นเครื่องมือทรงประสิทธิภาพรองรับการจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีความพร้อมและสมบูรณ์แบบในทุก ๆ ด้าน           นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งจุดย้ำเหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ประชากรของโลกได้ตระหนักถึงการเผชิญกับสถานการณ์และเหตุการณ์ที่มีปัญหาหลากหลายและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยี GIS จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ แน่นอนว่าปัญหาในภูมิทัศน์โลกนี้ยิ่งทวีความซับซ้อน ทำให้เราต้องการเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ...
เปิดผลโพลเจาะลึกความคิดคนกรุงเทพฯและปริมณฑล“หวังอะไร ในปี 2565” สุดอึ้งพบกว่า 70% อธิษฐานให้ได้รัฐบาลชุดใหม่มากกว่าถูกหวย  เหตุมองสภาพเศรษฐกิจแย่ลงกว่าเดิมและนักการเมืองคืออุปสรรคใหญ่ของประเทศไทยยิ่งกว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังแพร่ไม่หยุด             นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ  ผู้อำนวยการ อปท.นิวส์โพล  และ รศ.ดร.ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ  ร่วมแถลงว่าในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนผ่านสู่ศักราชใหม่ 2565 หลังจากที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตสะสมมากกว่า 21,000 ราย  ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การจ้างงาน รายได้ของประชาชน หนี้สินที่เพิ่มพูน ตลอดจนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องมีหน้ากากอนามัยเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 นั้น “อปท.นิวส์ โพล”ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลหัวข้อ “คนไทยหวังอะไรในปี 2565”จำนวน 1,469 ตัวอย่าง โดยการเก็บข้อมูลทางออนไลน์ได้ข้อสรุปดังนี้            พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ร้อยละ 58 เป็นเพศหญิง รองลงมาร้อยละ 39 คือ เพศชาย และไม่ระบุเพศร้อยละ 3  จากข้อสังเกตการแจกแบบสอบถามที่ผ่านมาจะพบว่าผู้หญิงมีความตื่นตัวการให้ข้อมูลเป็นไปในทางบวกมากขึ้นและมีแนวโน้มพฤติกรรมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น             อายุของกลุ่มตัวอย่างพบว่ามีอายุอยู่ระหว่าง 20-30 ปี ...
“ยางพารา” เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ   โดยเฉพาะน้ำยาง (Latex) ซึ่งเป็นผลิตผลที่ได้จากท่อลำเลียงอาหารในส่วนเปลือกของต้นยางพารา สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุตสาหกรรมหนัก เช่น การผลิตยางรถยนต์  ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน ยางพาราเป็นพืชที่มีอายุมากกว่า 20 ปี มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศมากกว่า 12.3 ล้านไร่ กระจายอยู่ทุกจังหวัด โดยเฉพาะในภาคใต้ยางพาราจึงเป็นพืชทดแทนป่าไม้ที่มีจำนวนลดลง และเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศให้มีมากขึ้น  อีกทั้งภายในสวนยางพารายังมีพืชชนิดอื่นๆ ที่สามารถปลูกร่วมได้ จึงทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น  รวมทั้งเป็นที่อาศัยของสัตว์ต่างๆ ตามธรรมชาติ จากจำนวนการปลูกยางพาราที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณผลผลิตยางพาราล้นตลาด ส่งผลให้ราคาจำหน่ายตกต่ำ จำเป็นยิ่งที่ต้องนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  (วทน.) เข้าไปเพิ่มมูลค่า ช่วยตอบโจทย์และแก้ไขปัญหานี้ กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  (อว.)  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ เล็งเห็นถึงความสำคัญและผลกระทบของปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดนำองค์ความรู้ วทน. มาพัฒนาโดยการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผลงานดังกล่าวสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์สำหรับผลิตจำหน่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนี้ 1.แปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์  เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพารา แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ            ...
            อีกนวัตกรรมสุดล้ำจากฝีมือคนรุ่นใหม่ของไทยร่วมขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางสุขภาพและการแพทย์ทางไกล ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ จากการประกวด INNO for Change 2021 by NIDA             ทีมไบโอเมด14 (Biomed14) นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล คิดค้นนวัตกรรมเมคก้า (MECA) ระบบเก็บข้อมูลผู้ป่วยผ่านทางกระจกเงาเพื่อช่วยวินิจฉัยโรค (Edge Computing Mirror System) เพียงส่องกระจก ระบบจะทำการเก็บข้อมูลสัญญาณชีพ และประมวลผลวินิจฉัย ลดการเดินทางและความเสี่ยงติดเชื้อในโรงพยาบาล ประหยัดเวลา ช่วยให้แพทย์ติดตามผลและช่วยเหลือรักษาคนไข้ได้ดียิ่งขึ้น ยกระดับสุขภาพของไทยในวิถีใหม่             ทีมไบโอเมด14 ประกอบด้วยคนรุ่นใหม่  นายวิทวัส สุดทวี นายกรวิชญ์ สุวรรณ และ นางสาวนภัสรา อัศวเลิศศักดิ์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ผศ.ดร.จำรัส พร้อมมาศ รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ...
โชห่วย ร้านค้าที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ท่ามกลางกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงและการเติบโตของโมเดิร์นเทรด แต่ร้านค้าโชว์ห่วยยังคงยืนหยัดอยู่ได้..เพราะอะไร?             นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (อธิบดี สนค.) เผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในช่วงเดือนตุลาคม 2564 จำนวน 8,428 คน ทุกอำเภอทั่วประเทศ โดยส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 87 คิดว่าร้านโชห่วยมีความจำเป็นต่อการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคสำหรับการดำรงชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมากนัก ซึ่งจะซื้อสินค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ และค่อนข้างบ่อย ภายในวงเงินไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง ข้อดีของร้านโชห่วย คือ สะดวกในการเดินทาง ราคาถูก และมีสินค้าแบ่งขาย ขณะที่มีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุง คือ สินค้าไม่หลากหลาย สินค้ามีจำนวนน้อย การจัดวาง และความสะอาด รวมถึงการให้บริการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการยกระดับร้านโชห่วยของกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ร้านค้าโชห่วยเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และเป็นช่องทางในการลดค่าครองชีพให้กับผู้บริโภคในชุมชน โดยมีรายละเอียดผลการสำรวจ ดังนี้             •ความจำเป็นของร้านจำหน่ายสินค้า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 87.53 คิดว่า...
หลังจากที่ประเทศไทยได้ทยอยคลายล็อกดาวน์และเปิดประเทศ ในขณะที่ผู้บริโภคก็กลับมาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสสี่นี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงเตรียมวาง      กลยุทธ์ในปีหน้า พร้อมมองหาโอกาสทางธุรกิจที่กำลังจะผ่านเข้ามาในวันที่เศรษฐกิจฟื้นตัว “กรุงศรี ออโต้” ผู้นำธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ครบวงจร เครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้รวบรวมเคล็ดลับเสริมแกร่งธุรกิจ ผ่านมุมมองของ 3 กูรู จากงานสัมนา ‘THE NEXT MOVE รุกอย่างมีข้อมูล’ เพื่อติดอาวุธให้พันธมิตรยานยนต์ ‘รู้ลึก-รู้รอบ-รู้ทัน’ เพื่อเดินหน้าธุรกิจและมัดใจผู้บริโภคได้อย่างอยู่หมัดในปี 2565           นางกฤติยา ศรีสนิท ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไม่เคยโกหก และถือเป็นหัวใจในการเข้าถึงอินไซต์ของกลุ่มลูกค้า รวมถึงการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เฉียบคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่หมุนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ด้วยความเป็นผู้นำธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ที่พร้อมเติบโตไปกับพันธมิตร กรุงศรี ออโต้ จึงได้จัดงานสัมมนา ‘THE NEXT MOVE รุกอย่างมีข้อมูล’ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจและสนับสนุนให้พันธมิตร รู้ลึกถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ รู้ทันเทรนด์ผู้บริโภค และรู้รอบพร้อมเดินเกมธุรกิจได้อย่างมั่นใจในปี 2565...
รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยปริมาณการใช้ดาต้ามือถือพุ่งเกือบ 300 เท่า ในรอบ 10 ปี ภายในสิ้นปี 2570 จะมีผู้ใช้ 5G พุ่งเป็น 4.4 พันล้านบัญชีหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนบัญชีผู้ใช้มือถือในปัจจุบัน ในปี 2570 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก สิ้นปีนี้ คาดว่ายอดผู้ใช้บริการ 5G ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มแตะ 15 ล้านบัญชี             รายงานเชิงลึกระดับโลกของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) เปิดเผยว่าตั้งแต่อีริคสันจัดทำและเผยแพร่รายงาน Ericsson Mobility Report เป็นครั้งแรกในปี 2554 จนถึงปัจจุบันมีปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตบนมือถือเพิ่มขึ้นเกือบ 300 เท่า โดยในรายงานฉบับครบรอบสิบปีนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครือข่ายมือถือทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้เราได้ย้อนกลับไปดูเทรนด์ต่าง ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในรอบทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงการคาดการณ์ไปจนถึงปี 2570             จากการคาดการณ์ที่ระบุว่ายอดผู้ใช้บริการ 5G จะสูงแตะ...